2552-10-07

ระบบน้ำที่ดีภายในบ้าน


น้ำ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อมนุษย์เรา มีความสำคัญรองลงมาจากอากาศที่เราหายใจเข้าไป แน่นอนว่าในบ้านเรือนทุกหลังจะต้องมีน้ำสะอาดสำหรับไว้ใช้อุปโภคบริโภค ในปัจจุบันนี้น้ำกินน้ำใช้ในครัวเรือนช่างแสนสะดวกสบายกันเสียจริงๆ เพียงเปิดก๊อกก็มีน้ำสะอาดออกมาให้เราใช้สอยได้อย่างง่ายดาย ก่อนที่เราจะเปิดก๊อกและมีน้ำใช้อย่างสบายในทุกวันนี้ น้ำดิบที่นำมาผลิตเป็นน้ำดีหรือน้ำประปานั้น ต้องผ่านขบวนการบำบัดหลายขั้นตอน และต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เพื่อให้ได้น้ำดีที่ใสสะอาด ปลอดภัยในการบริโภคต่อสาธารณะชน ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นผู้บริโภคคนหนึ่ง เราควรตระหนักและใช้น้ำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้สูญเสียหรือใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง ระบบท่อน้ำประปาที่ใช้ในครัวเรือนท่อน้ำที่ใช้ในการเดินท่อ และจ่ายไปตามจุดต่างๆ ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ ท่อพีวีซี (P.V.C) และท่อเหล็กชุบสังกะสี (GALVANIZE STEEL PIPE) วัสดุทั้ง 2 ชนิดมีคุณสมบัติที่ต่างกัน สามารถเปรียบเทียบข้อดี ข้อด้อย ได้ดังนี้ท่อพีวีซี สำหรับเดินท่อน้ำดื่มนั้นจะเป็นสีฟ้าเท่านั้น โดยท่อดังกล่าวจะใช้ท่อที่มีชั้นความหนา 13.5 หรือ CLASS 13.5 เท่านั้น เพื่อความแข็งแรงในการใช้งาน (โดยปกติท่อพีวีซี - สีฟ้า จะมีอยู่ 2 ชั้นความหนา นั่นคือ 8.5 และ 13.5) ข้อดี - ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย มีน้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม การติดตั้งสะดวกและรวดเร็ว เพราะตัดต่อง่าย ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษอะไร ถ้างานเล็กน้อยก็สามารถติดตั้งด้วยตนเองได้ เนื่องจากการติดตั้งง่ายและรวดเร็ว จึงช่วยประหยัดค่าแรงงานในการเดินท่อได้มาก ข้อด้อย - แตกหักเสียหายง่าย ไม่เหมาะสมที่จะใช้งานภายนอก โดยเฉพาะที่โล่งแจ้ง หรือไม่มีสิ่งปกคลุมอยู่ เพราะถ้าโดนแดดส่องแสงมากๆ อาจเปราะแตกหัก และทำให้น้ำรั่วได้ ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมที่จะใช้เดินลอบภายนอกอาคารท่อเหล็กชุบสังกะสี (GALVANIZE STEEL PIPE) ข้อดี - มีความแข็งแรง ทนทาน ทนแรงดันน้ำได้สูง ติดตั้งได้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร ข้อด้อย - เป็นสนิมได้ง่าย อาจทำให้ท่อตีบและอุดตันภายใน หรือท่อเป็นสนิมมากจนทำให้น้ำรั่วได้ ท่อเหล็กมีราคาสูง และยุ่งยากในการติดตั้ง เพราะต้องใช้เครื่องมือในการติดตั้งโดยเฉพาะการเดินท่อน้ำดีทั้งภายนอก และภายในอาคารต่างๆ นั้นมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นหลัก คือ ปริมาณการจ่ายน้ำให้พอเพียงกับความต้องการ ดังเช่น ถ้าเป็นบ้านพักอาศัย สมมุติว่าเป็นบ้าน 2 ชั้น ขนาดกลางๆ ทั่วไป และมีน้ำประปาของการประปาไหลแรงพอสมควร แบบนี้เราก็สามารถต่อเข้าไปจ่ายในบ้านได้โดยตรง แต่ถ้าน้ำประปาไหลอ่อน การจ่ายน้ำเข้าใช้ในบ้านโดยตรงคงไม่ได้ แบบนี้จึงต้องการถังเก็บกักน้ำก่อน โดยจะใช้เป็นหอสูงด้วยการสูบน้ำขึ้นไปเก็บไว้ หรือจะเป็นถังพักน้ำที่อยู่บนดิน หรือฝังไว้ใต้ดิน ถ้าเป็นแบบนี้ก็ต้องใช้ป๊มน้ำอัตโนมัติในการควบคุมและจ่ายน้ำตลอดเวลาได้ เมื่อมีการเปิดก๊อกน้ำ สำหรับขนาดท่อที่เหมาะสมนั้น ท่อเมนน้ำดี ส่วนใหญ่ที่จ่ายสู่ห้องน้ำ 1-2 ห้องน้ำ ใช้ท่อขนาด ? นิ้ว ก็เพียงพอแล้ว และเมื่อจะแยกจ่ายไปอุปกรณ์สุขภัณฑ์จุดต่างๆ ก็ให้ลดขนาดเหลือ ? นิ้ว สำหรับท่อที่ต้องใช้ปั๊มน้ำ ก็ต้องดูตามขนาดของปั๊มน้ำเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่ท่อที่จ่ายน้ำออกจากปั๊มจะมีขนาด ?-1 นิ้ว ดังนั้นท่อที่ปั๊มมีขนาดเท่าไร ก็จ่ายท่อเมนไปขนาดนั้นไปก่อน จากนั้นเมื่อแยกจ่ายไปส่วนอื่นๆ จึงค่อยลดขนาดลงไปตามส่วนตามที่กล่าวในเบื้องต้นการเลือกท่อชนิดใดมาใช้งาน ควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน และจุดมุ่งหมายของการใช้งาน โดยเป็นไปตามความต้องการ เช่น ในเรื่องความคงทน ความสะดวกในการติดตั้ง ระยะเวลา งบประมาณ และความจำเป็นในการใช้งาน ถ้าเราเลือกใช้วัสดุได้ถูกต้องเหมาะสมตามจุดประสงค์แล้ว ก็จะทำให้เราสามารถประหยัดเงินและเวลา อีกทั้งภายหลังก็จะใช้สอยน้ำได้ดีได้อย่างสมบูรณ์ได้เป็นเวลานาน โดยไม่ต้องซ่อมแซมให้ลำบากในภายหลังก่อนที่เราจะเปิดก๊อก และมีน้ำใช้อย่างสบายในทุกวันนี้ น้ำดิบที่นำมาผลิตเป็นน้ำดี หรือน้ำประปานั้นต้องผ่านขบวนการบำบัดหลายขั้นตอน และต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เพื่อให้ได้น้ำดีที่ใสสะอาด ปลอดภัยในการบริโภค ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นผู้บริโภคคนหนึ่งเราควรตระหนัก และใช้น้ำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้เกิดการสูญเสีย หรือมีการใช้น้ำกันอย่างสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ ร่วมกันใช้น้ำอย่างมีคุณค่ากันดีกว่า เพราะน้ำเองเป็นทรัพยากรที่มีค่าอันควรใช้ให้เหมาะสมเพื่อให้เราได้มีน้ำใสสะอาดใช้ได้ยาวนานตลอดไป